วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ การเลี้ยงสุนัข

ความพร้อมในการเลี้ยงสุนัข
1. ความพร้อมของสถานที่ การเลี้ยงสุนัขต้องมีสถานที่หรือบริเวณสำหรับให้สุนัขวิ่งเล่นออกกำลังกายบ้าง อย่าปล่อยให้สุนัขอยู่ในที่แคบ สิ่งแวดล้อมไม่ดี มันจะรู้สึกซึมและส่งเสียงคราง อุปนิสัยผิดไป ดังนั้นผู้เลี้ยงสุนัขควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสถานที่ให้พอเหมาะกับสุนัขด้วย
    2. ความพร้อมของผู้เลี้ยง ผู้เลี้ยงควรสำรวจตัวเองเสียก่อนกว่า ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร และมีเวลาให้กับสุนัขหรือไม่ เช่น ถ้าสถานที่แคบไม่มีบริเวณที่จะปล่อยให้สุนัขวิ่งเล่น แต่อยากจะเลี้ยงสุนัขมากจึงขังกรงเอาไว้ ก็จะไม่ได้อะไรขึ้นมา ผู้เลี้ยงจะได้รับเพียงเสียงเห่าที่หนวกหูเท่านั้น ผู้เลี้ยงต้อยมีเวลาพามันออกกำลังวิ่งเล่นบ้าง คอยฝึกสอนบางสิ่งบางอย่างที่เป็นพื้นฐานต่าง ๆ ให้สุนัข จะทำให้สุนัขที่เลี้ยงมีคุณค่ามากขึ้น เช่นการนั่งคอย การไหว้ ไม่ขโมยอาหารและกินมูมมาม
    3. ความรัก การเลี้ยงดูสุนัขต้องมีความรัก ความจริงใจและเสมอต้นเสมอปลายด้วย เพราะบางคนนำสุนัขมาเลี้ยงขณะที่ยังเป็นลูกสุนัข มีความน่ารักขนปุกปุย ขี้เล่น แต่พอสุนัขโตขึ้นความน่ารักดังกล่าวก็จะค่อย ๆ หายไป นิสัยใจคอเปลี่ยนไป รูปร่างขนที่ปุกปุยก็จะหยาบ ขายาว ตัวโตขึ้น หมดความน่ารักลง ทำให้ไม่อยากเอาใจใส่และไม่เล่นกับมัน แต่สุนัขไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนี้ยังคงทำในสิ่งที่เคยทำ เช่น อยากจะให้อุ้ม แล้วตะกุยตะกายให้อุ้ม แต่เรามักไม่เข้าใจก็ทำโทษมันด้วยความโมโหและรำคาญที่ถูกเล็บข่วนเป็นเป็นแผล หรือทำให้เสื้อผ้าสกปรก จึงทำโทษด้วยการดุหรือเฆี่ยนตี ทำให้สุนัขเข็ดกลัวไม่อยากเข้าใกล้ หรือคอยหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำให้สุนัขที่เคยน่ารักหมดคุณค่าไป
    4. ความเอาใจใส่ในชีวิตประจำวัน เมื่อสุนัขเกิดอาการไม่สบาย มันไม่สามารถบอกเล่าอาการต่าง ๆ ได้เหมือนคน จึงต้อยคอยสังเกต เอาใจใส่ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สุนัขมีความเป็นอยู่ที่ดี นอกเหนือไปจากการให้อาหารและน้ำดื่มที่สะอาดแล้ว ต้องคอยสังเกตว่าสุนัขมีสุขภาพอย่างไร ในเรื่องของการขับถ่าย ท้องเสียหรือไม่ มีกิริยาท่าทางร่าเริงหรือหงอย ซึม ไม่สบาย มีแปล มีเห็บหมัดรบกวนหรือไม่ หากพบสิ่งผิดปกติต้องรีบช่วยเหลือทันที

ที่อยู่ ที่นอน ของสุนัข


สุนัขควรมีที่หลับนอนของมันเองที่เป็นที่เป็นทางและเป็นสัดส่วน จะเลี้ยงสุนัขไว้ในบ้านหรือนอกบ้านก็แล้วแต่ความพร้อมของเจ้าของและสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ส่วนใหญ่หากมันยังเล็กก็นิยมเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อสะดวกในการดูแล และทำให้มันสนิทสนมกับคนในบ้านได้ง่าย แต่ต้องคอยดุแลเรื่องการขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทาง จัดที่นอนสำหรับลูกสุนัขไว้ในลังไม้หรือตะกร้าตั้งไว้มุมห้องเงียบ ๆ สักมุมหนึ่ง หรืออาจใช้เพียงผ้าผวยเก่า ๆ หรือเศษผ้านุ่ม ๆ หลายชั้นทำเป็นที่นอนขนาดเล็กใหญ่ ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
หากมีอาณาบริเวณบ้านมากพอ หรือต้องการเลี้ยงไว้นอกบ้าน ซึ่งมันก็ต้องการที่คุ้มแดดคุ้มฝน หรือหลบร้อนตอนกลางวัน การสร้างคอกหรือกรงเลี้ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดกรงควรกว้างพอให้มันเหียดตัวหรือกลับตัวได้ง่ายและสูงพอที่มันจะยืนได้ บริเวณที่ตั้งกรงหรือคอกเลือกเอาที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้ดีไม่อับชื้น และควรติดมุ้งลวดเพื่อกันยุงและแมลงให้มันด้วย

การอาบน้ำสุนัข

ตามปกติไม่นิยมอาบน้ำให้ลูกสุนัขบ่อยเกินไป เพราะจำทำให้น้ำมันที่เคลือบเส้นขนหมดไป ทำให้ผิวหนังและเส้นขนแห้งไม่เป็นมัน เกิดอาการคัน สุนัขจะกัดหรือเกาให้เป็นแผล นอกจากนี้สุนัขยังแพ้ต่อการเป็นโรคทางระบบหายใจ โดยเฉพาะ จะเป็นโรคปอดบวมได้ง่าย เพราะฉะนั้นหาไม่จำเป็นจริง ๆ แล้วก็ไม่ควรอาบน้ำให้สุนัขสำรับลุกสุนัขอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดให้แห้งตามตรงที่ตัวสกปรก หรือใช้แปรงและการหวีขนบ่อย ๆ ก็จะรักษาความสะอาดได้ดีโดยไม่ต้องอาบน้ำ เมื่อสุนัขโตขึ้นอาจจะอาบน้ำให้ด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นให้เพียงอาทิตย์ละครั้งก็พอ หรือเมื่อเห็นว่ามันสกปรกมาก มีกลิ่นเหม็นแล้ว การอาบน้ำควรอาบให้ในเวลาที่มีแดดออก อากาศไม่หนาวมาก ใช้สบู่หรือแชมพูอย่างอ่อน ถูให้ทั่วตัวและหัว ระวังไม่ให้ฟองสบู่เข้าตาและน้ำเข้าหู จากนั้นต้องล้างสบู่ออกให้หมด เพราะถ้าล้างออกไม่หมดจะทำให้เกิดการคันจนสุนัขเกาเป็นแผล เสร็จแล้วจึงเช็ดตัวสุนัขให้แห้ง

การอาบน้ำสุนัข
       เมื่อสุนัขมีกลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ ในบางครั้งจึงมีความจำเป็นต้องอาบน้ำให้สุนัข นอกจากนี้การอาบน้ำยัง ช่วยกำจัดพยาธิภายนอกบางชนิด รวมทั้งช่วยปรับสภาพผิวที่แห้งหรือมันเกินไป ซึ่งสัตวแพทย์สามารถ แนะนำแชมพูยาและครีมปรับสภาพขนที่เหมาะสมกับสุนัข การใช้แชมพูและครีมปรับสภาพขนให้ได้ผลดีจะ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต แชมพูที่ ล้างออกไม่หมด จะระคายเคืองต่อผิวหนัง และทำให้คัน ซึ่งสุนัขอาจเกาจนเป็นแผล ระหว่างการ อาบน้ำ อาจใส่ปลอกคอให้สุนัข เพื่อใช้จับและป้องกันสุนัขกระโดดออกจากอ่างน้ำ


วิธีการอาบน้ำ
         หลังจากแปรงขนสุนัขแล้ว ให้ใช้ก้อนสำลีอุดหูสุนัขไว้แล้วจับสุนัขยืนในอ่างน้ำ โดยใช้ผ้ายางรองพื้นอ่าง ใช้มือจับปลอกคอสุนัขแล้วใช้น้ำอุ่นค่อยๆราดลงบนตัวสุนัข
ใช้แชมพูสำหรับสุนัขหรือแชมพูที่ไม่ระคายเคืองตาฟอกให้ทั่วตัว ยกเว้นบริเวณหัว จับสุนัขให้มั่นคงเพื่อ ป้องกันสุนัขลื่นหรือกระโดดออกจากอ่างน้ำ ถูนวดย้อนขนจนแชมพูเป็นฟอง ระวังอย่างให้แชมพูกระเด็น เข้าตาสุนัข
บริเวณหัวให้ใช้แชมพูที่ไม่ระคายเคืองตาเทลงบนมือ แล้วนวดขนสุนัขอย่างนุ่มนวล ระวังอย่างให้น้ำ และฟองแชมพูกระเด็นเข้าตาและปากสุนัข
ล้างแชมพูบริเวณหัวออก เช็ดให้แห้งก่อนจากนั้นจึงล้างแชมพูบริเวณลำตัว วิธีนี้จะช่วยป้องกันสุนัข สะบัดน้ำกระจายไปทั่ว
ล้างแชมพูออกให้หมดด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง ถ้าจำเป็นอาจใช้แชมพูปรับสภาพนวดขนแล้วล้างออกให้หมด
บีบไล่น้ำติดค้างตามขนออกให้มากที่สุดแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวผืนไหญ่เช็ดตัวสุนัขให้แห้ง จากนั้นเอาสำลีที่ อุดหูออกและเช็ดในรูหูให้แห้ง
สุนัขที่มีผิวหนังสมบูรณ์อาจใช้เครื่องเป่าผมเป่าขนให้แห้ง โดยปรับอุณหภูมิปานกลาง และแปรงขนไป ในทิศทางออกจากตัว สำหรับสุนัขที่มีอาการคันควรงดใช้เครื่องเป่าผม เพราะความร้อนจะทำให้คันมากขึ้น


หลังการอาบน้ำ
          หลังการอาบน้ำสุนัขมักวิ่งไปทั่วอย่างตื่นเต้น ควรระวังไม่ให้สุนัขไปเกลือกกลิ้งบนพื้นสกปรก หรือพยายามสร้าง กลิ่นตัวให้เหมือนสิ่งแวดล้อมด้วยการไปคลุกกับสิ่งเหล่านี้

การกำจัดและป้องกันเห็บสุนัข


เห็บ หมัดและแมลง เป็นพาหะนำโรคบางชนิดมาสู่สุนัข ถึงแม้ไม่เกิดโรคก็จะทำความรำคาญให้สุนัขมาก เห็บหรือหมัดที่มีในสุนัขส่วนมากมักเกิดจากเจ้าของที่ไม่ดุแลสุนัขเท่าที่ควร
    หมัด หรือเห็บมักเกาะกินเลือดอยู่ตามบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ ของสุนัข เช่น รอบคอ ริมฝีปาก บริเวณหลังเลยหางขึ้นไป ตามซอกเล็บ และตามบริเวณก้นการกำจัดเห็บ หมัด อาจใช้น้ำมันสนหยดลงไปให้ถูกตัวเล็กน้อย จะทำให้มันหลุดออกมา หากดึงหมัดหรือเห็บขณะที่มันกำลังกัดติดอยู่กับบริเวณผิวหนังแรง ๆ อาจทำให้ผิวสุนัขเป็นแผล การป้องกันกำจัดเห็บหรือหมัดอาจใช้วิธีรักษาความสะอาดตัวสุนัข ใช้อุปกรณ์ในการกำจัดเห็บ เช่น ยกกำจัดเห็บ แป้งกำจัดเห็บ แชมพูกำจัดเห็บ ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์หรือทำด้วยความระมัดระวัง ควรทำการจับหมัดหรือเห็บทุก ๆ อาทิตย์ และทำความสะอาดที่นอนสุนัขด้วย แต่การฆ่ากำจัดเห็บเฉพาะที่ตัวสุนัข ไม่สามารถแกปัญหาได้ตลอด เพราะเห็บหรือหมัดเล่านี้จะอาศัยอยู่บริเวณที่อยู่ของสุนัข ดังนั้นควรใช้ยาฆ่าเห็บผสมกับน้ำผสมกับน้ำราดตามบริเวณที่สุนัขอาศัยอยู่ด้วย การกำจัดสิ่งเหล่านี้จะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะประสบความสำเร็จ
หากไม่ต้องการให้มีลูกสุนัขเกิดเกินจำนวนที่จะเลี้ยงได้ หรือเพื่อเสี่ยงกับการผสมพันธุ์ในครอกได้ลุกสุนัขผิดลักษณะควรทำหมันให้กับสุนัข นอกจากนั้น การทำหมันจะช่วยลดควมวุ่นวายเนื่องจากพฤติกรรมของสุนัขในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยการทำหมันสุนัขตัวผู้สามารถกระทำได้เมื่ออายุ 7-8 เดือนขึ้นไป สำหรับตัวเมียควรทำเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรกไปแล้ว 1 เดือน และไม่ควรทำหมันเมื่อสุนัขมีอายุมากแล้ว 
ความรู้ การเลี้ยงสุนัข 
ผู้เลี้ยงควรต้องมีเวลาให้กับสุนัข เพื่อทำความคุ้นเคยและศึกษาสุนัขแต่ละตัว ต้องคอยเอาใจใส่สังเกตความเป็นอยู่ การกินอาหาร การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นอกจากนี้ควรจะต้องมีความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับสุนัข โรคต่างๆ เมื่อสุนัขเกิดอาการเจ็บป่วยจะได้นำไปรักษาได้ทันทีโรคที่เกิดกับสุนัขมีหลายชนิดและมักเกิดการระบาดอยู่เสมอทุกปี หลายโรคอาจร้ายแรงทำให้สุนัขพิการหรือเสียชีวิต ทั้งอาจติดต่อถึงคนภายในบ้านด้วย การหมั่นเอาใจใสในตัวสุนัขและดูแลสุขภาพทั่วไปของสุนัขจึงเป็นฯการป้องกันโรคเบื้องต้นที่ดีที่สุด อาการของสุนัขที่เริ่มป่วยสังเกตได้จาก อาการเซื่องซึม , ไม่ร่างเริงแจ่มใส , ไม่กินอาหารหรือกินอาหารน้องลง , อาเจียน , มีอาการท้องร่วง , ท้องผูก , ผอมลง , ขนหยาบกระด้าง , ผิวหนังเป็นผื่นแดง , ตาแฉะ , จมูกแห้งหรือมีน้ำมูก หากสุนัขมีอาการดังกล่าว ควรทำการรักษาหรือนำสุนัขไปหาสัตวแพทย์โรคสุนัขหลายโรคสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม หลังการฉีดวัคซีนควรงดอาบน้ำภายใน 1 สัปดาห์ เพราะสุนัขอาจมีไข้เล็กน้อยจากปฏิกิริยาต่อวัคซีน ดูแลให้สุนัขกินยาตามเวลาที่สัตวแพทย์กำหนด รวมทั้งควรแยกสุนัขตัวที่ป่วยออกจากตัวปกติ สิ่งที่ช่วยให้สุนัขรอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้อีกประการหนึ่งคือ การรักษาความสะอาด ทั้งของสุนัขและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย กำจัดเห็บ หมัด ยุง หนู หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะเหล่านี้ 

กำหนดการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคของสุนัข


ข้อปฏิบัติตามอายุของสุนัข
3 สัปดาห์ ตรวจอุจจารและถ่ายพยาธิ
2 เดือน ฉีดวัคซีนป้องอกันโรคไข้หัดสุนัข โรคพาร์โวไวรัส เลปโตสไปโรซีส ตับอักเสบติดต่อ
3 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และถ่ายพยาธิ
4 เดือน ฉีดซ้ำเช่นเดียวกับเมื่ออายุ 2 เดือน

ลักษณะของสุนัขที่ดี
วิธีการสังเกตดูลักษณะของสุนัขที่ดี มีดังต่อไปนี้
1. ส่วนหัวไม่มีรอยยุบ บวม หัวมีลักษณะสมดุลกัน
2. ตา ทั้ง 2 ข้าง มีขนาดเท่ากันทั้ง 2 ข้าง มีประกาย สดใส สนใจในสิ่งแวดล้อม
3. หู ตรงตามลักษณะของสายพันธุ์ รูปร่างได้ขนาด ไม่เป็นแผล
4. จมูกชื้นเป็นมัน จับดูต้องเย็น เวลาเดินต้องดมกลิ่นไปด้วย
5. ปากและฟันต้องไม่ฉีกหรือแหว่ง เหงือกสีชมพูสดใส ฟันมีการเรียงตัว เป็นระเบียบ
6. ผิวหนังมีความยืดหยุ่น เวลาดึงผิวหนังขึ้นแล้วปล่อยต้องคลายตัวทันที ไม่มีรังแค
7. ขนเป็นประกายเงางามอ่อนนุ่ม
8. ลำตัว ควรเป็นทรงกระบอก อกมีกล้ามเนื้อแข็งแรง ไหล่ 2 ข้าง สมดุลกันท้องไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
9. ทวารหนัก ต้องไม่บวมหรือแดง ไม่ควรมีเศษอุจจาระติดโดยรอบ
10. เท้าขนานกันเวลายืน ปลายเท้าไม่บิดเข้าหรือออก ปลายนิ้วไม่งุ้ม ขาหลังไม่ลาดเอียงเกินไป
11. อวัยวะสืบพันธุ์ เพศผู้ต้องตรวจดูว่ามีลูกอัณฑะครบ 2 ข้าง เพศเมียต้องตรวจรูอวัยวะสืบพันธุ์ปกติ
12. ท่าทางและอารมณ์ควรจะร่าเริง ขี้เล่น อยากรู้อยากเห็น
สุนัขมีความต้องการต่างๆดังนี้- ที่อยู่อาศัยและการปกป้องรักษา
- อาหารที่ถูกต้องตามหลักอนามัยในปริมาณที่เหมาะสม
- น้ำดื่มที่สะอาดดื่ม
- การออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
- เพื่อนเล่น

ที่มาของข้อมูล:
http://www.kaewnim.com/index.phpoption=com_content&view=category&layout=blog&id=36&Itemid=56&limitstart=5